Star Topology

โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)

               เป็นรูปแบบที่เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกันในเครือ ข่าย จะต้องเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ตัวกลางตัวหนึ่งที่เรียกว่า ฮับ (HUB) หรือสวิตช์ (Switch) หรือเครื่อง ๆ หนึ่ง ซึ่งทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการเชื่อมต่อสายสัญญาญที่มาจากเครื่องต่าง ๆ ในเครือข่าย และควบคุมเส้นทางการสื่อสาร ทั้งหมด เมื่อมีเครื่องที่ต้องการส่งข้อมูลไปยังเครื่องอื่น ๆ ที่ต้องการในเครือข่าย เครื่องนั้นก็จะต้องส่งข้อมูลมายัง HUB หรือเครื่องศูนย์กลางก่อน แล้ว HUB ก็จะทำหน้าที่กระจายข้อมูลนั้นไปในเครือข่ายต่อไป
 
 
1.การเชื่อมต่อระบบเครือข่าย คือ การทำให้เครื่องคอม- พิวเตอร์ที่ทำงานอยู่ตามลำพัง ให้สามารถติดต่อสื่อสาร กับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ที่อยู่ในระบบเครือข่าย โดย ผ่านอุปกรณ์เชื่อมต่อ สายสัญญาณ อุปกรณ์สื่อสาร และ วิธีการออกแบบระบบเครือข่ายที่เหมาะสม

คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ รับ-ส่งข้อมูลที่ประกอบกันเป็นเครือข่าย จะต้องเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ถึงกันในรูปแบบต่างๆ ตามความเหมาะสม เทคโนโลยีการออกแบบการเชื่อมโยงนี้เรียกว่า รูปร่างเครือข่าย (network topology) การเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้าหากันแบบง่ายทำได้โดยการต่อคอมพิวเตอร์ถึงกัน ทุกเครื่อง

มุมมองของเส้นทางการเชื่อมต่อและการส่งข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบเครือข่าย มองได้ 2 ลักษณะ
โทโพโลยีทางกายภาพ (Physical Topology) คือการพิจารณาการเชื่อมต่อของอุปกรณ์ สายสัญญาณ ระหว่างคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง
โท โพโลยีทางตรรกะ (Logical Topology) คือการพิจารณาลักษณะการเดินทางของข้อมูล จากจุดต่างๆ ของเครือข่าย โดยดูที่ตัวข้อมูล เช่น ที่อยู่เครื่องส่ง เครื่องรับ และเส้นทางที่ข้อมูลเคลื่อนที่ผ่าน

การเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถึงกันเป็นเครือข่าย มีมาตรฐานการเชื่อมต่อ 4 แบบ คือ
โทโปโลยีแบบดาว (Star Topology)
โทโปโลยีแบบบัส (Bus Topology)
โทโปโลยีแบบวงแหวน (Ring Topology)
โทโปโลยีแบบเชื่อมทุกจุด (Mesh Topology)


2.ในการใช้งานจริงเครือข่ายขนาดใหญ่ทั่วไป มักเกิดจากการรวมหลายๆ เครือข่ายย่อยเข้าด้วยกัน ดังนั้น ลักษณะการเชื่อมต่อโดยรวมจะมีรูปร่างที่ต่างออกไป และอาจกำหนดชื่อเรียกใหม่ตามลักษณะของโทโพโลยีใหม่ เช่น
โทโพโลยีแบบต้นไม้ (Tree Topology) - เกิดจากการต่อของโทโพโลยีแบบดาว ในลักษณะเป็นโครงสร้างย่อยลงไป
โทโพโลยีแบบไฮบริด (Hybrid Topology) - คือการต่อกันของโทโพโลยีย่อยหลายๆ แบบเข้าด้วยกัน

การ เชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เครือข่ายขนาดเล็ก ที่มีจำนวนเครื่องจำกัด หรืออยู่ในบริเวณไม่กว้าง มักเลือกใช้โทโพโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นกับวัตถุประสงค์ อุปกรณ์ที่มี และสภาพพื้นที่ เช่น การต่อภายในห้อง อาจจะใช้แบบดาว การต่อระหว่างหลายๆ อาคาร อาจเป็นแบบบัส แต่เมื่อมีการขยายขนาดเครือข่ายให้ใหญ่ขึ้น อาจจะเป็นการต่อหลายๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน ลักษณะของโทโพโลยีโดยรวม คือการเชื่อมต่อหลายๆ โทโพโลยีเข้าด้วยกัน


3. ข้อดีข้อเสียของโทโปโลยีรูปดาว

ข้อดี
         - การติดตั้งเครือข่ายและการดูแลรักษาทำ ได้ง่าย หากมีเครื่องใดเกิดความเสียหาย ก็สามารถตรวจสอบได้ง่าย และศูนย์ กลางสามารถตัดเครื่องที่เสียหายนั้นออกจากการสื่อสาร ในเครือข่ายได้เลย โดยไม่มีผลกระทบกับระบบเครือข่าย
ข้อเสีย
          - เสียค่าใช้จ่ายมาก ทั้งในด้านของเครื่องที่จะใช้เป็น เครื่องศูนย์กลาง หรือตัว HUB เอง และค่าใช้จ่ายในการติดตั้งสายเคเบิลในเครื่องอื่น ๆ ทุกเครื่อง การขยายระบบให้ใหญ่ขึ้นทำได้ยาก เพราะการขยายแต่ละครั้ง จะต้องเกี่ยวเนื่องกับเครื่องอื่นๆ ทั้งระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น