เน็ตเวิร์คการ์ดจะเป็นจุดเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์
และระบบเครือข่าย ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “NIC (Network Interface
Card)”หรือบางทีก็เรียกว่า “LAN การ์ด (LAN Card)”
อุปกรณ์เหล่านี้จะทำการแปลงข้อมูลเป็นสัญญาณที่สามารถส่งไปตามสายสัญญาณหรือ
สื่อแบบอื่นได้ ปัจจุบันนี้ก็ได้มีการแบ่งการ์ดออกเป็นหลายประเภท
ซึ่งจะถูกออกแบบให้สามารถใช้ได้กับเครือข่ายประเภทแบบต่าง ๆ เช่น
อีเธอร์เน็ตการ์ด โทเคนริงการ์ด เป็นต้น
การ์ดในแต่ละประเภทอาจใช้กับสายสัญญาณบางชนิดเท่านั้น
หรืออาจจะใช้ได้กับสายสัญญาณหลายชนิด
เน็ตเวิร์คการ์ด
เน็ตเวิร์คการ์ดจะติดตั้งอยู่กับคอมพิวเตอร์
โดยเต้าเสียบเข้ากับช่องบนเมนบอร์ดของคอมพิวเตอร์
ส่วนมากคอมพิวเตอร์ที่ผลิตในปัจจุบันจะมีเฉพาะช่อง PCI
ซึ่งก็ใช้บัสที่มีขนาด 32 บิต อย่างไรก็ตาม
ยังมีคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ยังมีช่องแบบ ISA อยู่ ซึ่งมีบัสขนาด 16บิต
และมีการ์ดที่เป็นแบบ ISA จะประมวลผล ข้อมูลช้ากว่าแบบ PCI
2 สายสัญญาณ
ปัจจุบันมีสายสัญญาณที่ใช้เป็นมาตรฐานในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อยู่3 ประเภท
2.1
สายคู่บิดเกลียว สายคู่บิดเกลียว ( twisted pair )
ในแต่ละคู่ของสายทองแดงซึ่งจะถูกพันกันตามมาตรฐาน
เพื่อต้องการลดการรบกวนจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ากับคู่สายข้างเคียงได้แล้ว
ผ่านไปยังสายเคเบิลเดียวกัน หรือจากภายนอกเท่านั้น
เนื่องจากสายคู่บิดเกลียวนั้นมีราคาไม่แพงมากใช้ส่งข้อมูลได้ดี
แล้วน้ำหนักเบา ง่ายต่อการติดตั้ง
จึงทำให้ถูกใช้งานอย่างกว้างขวางตัวอย่างคือสายโทรศัพท์สายแบบนี้มี 2
ชนิดคือ
ก. สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน (Shielded Twisted Pair :
STP) เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกที่หนาอีกชั้นดังรูป
เพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
สายคู่บิดเกลียวชนิดหุ้มฉนวน
ข. สายคู่เกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน (Unshielded Twisted Pair :
UTP)
เป็นสายคู่บิดเกลียวที่หุ้มด้วยฉนวนชั้นนอกด้วยซึ่งบางทีก็หุ้มอีกชั้นดัง
รูป ซึ่งทำให้สะดวกในการโค้งงอ
แต่ก็สามารถป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้น้อยกว่าชนิดแรก
สายคู่บิดเกลียวชนิดไม่หุ้มฉนวน
2.2 สายโคแอกเชียล สายโคแอกเชียล
เป็นตัวกลางการเชื่อมโยงที่มีลักษณะเช่นเดียวกับสายทีวีที่มีการใช้งานกัน
อยู่เป็นจำนวนมากไม่ว่าจะใช้ในระบบเครือข่ายเฉพาะที่
และใช้ในการส่งข้อมูลระยะที่ไกลระหว่างชุมสายโทรศัพท์หรือการส่งข้อมูล
สัญญาณวีดีทัศน์ ซึ่งสายโคแอกเชียลที่ใช้ทั่วไปก็มีอยู่ 2 ชนิด คือ 50
โอห์ม ซึ่งใช้ส่งข้อมูลแบบดิจิทอล และชนิด 75โอห์ม
ซึ่งก็จะใช้ส่งข้อมูลสัญญาณอนาล็อก
สายโคแอกเชียลมีฉนวนหุ้มเพื่อป้องกันการรบกวนของคลื่นสัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า
และก็เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวนอื่น ๆ
ซึ่งก็เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้สายแบบนี้มีช่วงความถี่ที่สัญญาณไฟฟ้าสามารถส่ง
ผ่านได้กว้างถึง 500 Mhz จึงสามารถส่งข้อมูลด้วยอัตราของการส่งสูงขึ้น
สายโคแอกเชียล
2.3 เส้นใยแก้วนำแสง เส้นใยนำแสง ( fiber optic )
เป็นการที่ใช้ให้แสงเคลื่อนที่ไปในท่อแก้ว
ซึ่งสามารถส่งข้อมูลด้วยเป็นอัตราความหนาแน่นของสัญญาณข้อมูลที่สูงมาก
ที่ปัจจุบันถ้าใช้เส้นใยนำแสงกับระบบอีเธอร์เน็ตก็ใช้ได้ด้วยความเร็ว 10
เมกะบิต ถ้าใช้กับ FDDI ก็จะใช้ได้ด้วยความเร็วสูงถึง100 เมกะบิต
ลักษณะของเส้นใยนำแสง
3 อุปกรณ์เครือข่าย
อุปกรณ์ที่นำมาใช้ในเครือข่ายทำหน้าที่จัดการเกี่ยวกับการรับ-
ส่งข้อมูลในเครือข่าย
หรือใช้สำหรับทวนสัญญาณเพื่อให้การรับ-ส่งข้อมูลได้ดี
และส่งในระยะที่ไกลมากขึ้น หรือใช้สำหรับขยายเครือข่ายให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
อุปกรณ์เครือข่ายที่พบเห็นโดยทั่วไป เช่น ฮับ สวิตซ์ เราท์เตอร์
3.1 ฮับ (Hub)
ฮับ (HUB) คืออุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมกันระหว่างกลุ่มของคอมพิวเตอร์
ฮับมีหน้าที่รับส่งเฟรมข้อมูลทุกเฟรมที่ได้รับจากพอร์ตใดพอร์ตหนึ่ง
เพื่อส่งไปยังทุก ๆ พอร์ตที่เหลือ
คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับฮับจะแชร์แบนด์วิธหรืออัตราข้อมูลของเครือ
ข่าย
ฮับ (HUB)
3.2 สวิตซ์ (Switch)
สวิตซ์ (Switch) หรือ บริดจ์ (Bridge)
เป็นอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ LAN สองเครือข่ายเข้าด้วยกัน
โดยจะต้องเป็น LAN ชนิดเดียวกัน
และก็ใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน เช่น ใช้ในการเชื่อมต่อ
Ethernet LAN ทั้งสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน
สวิตซ์ (Switch) หรือ บริดจ์ (Bridge)
3.3 เราท์เตอร์ ( Routing )
เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อในระบบเครือข่ายกับหลายระบบเข้าด้วยกันที่
คล้ายกับบริดจ์ แต่ก็มีส่วนการทำงานจะซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก
โดยเราท์เตอร์ก็มีเส้นทางการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างแต่ละเครือข่ายเก็บไว้
เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table
ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทาง
และเลือกเส้นทางเหมาะสมที่สุดเพื่อใช้ในการเดินทาง
และเพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เราท์เตอร์ ( Routing )
3.4 โปรโตคอล (Protocol)
ในการเชื่อมโยงของเครือข่ายเครื่องคอมพิวเตอร์
ในแต่ละเครื่องอาจก็ต้องมีระบบที่เหมือนกัน หรือแตกต่างกัน
เช่นในการใช้งานในเครือข่ายจึงต้องเป็นมาตรฐานหรือระเบียบที่ใช้ในการติดต่อ
ให้แต่ละเครื่องมีวิธีการสื่อสารที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกันได้
เพื่อให้เป็นการเชื่อมโยงข้อมูล
และในการติดต่อสื่อสารของเครื่องคอมพิวเตอร์ในแต่ละเครื่องต้องมีความเข้าใจ
ถูกต้องตรงกันและสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี
ไม่เกิดความเสียหายนั้นเกิดขึ้น จึงมีการกำหนดวิธีการมาตรฐานขึ้นเรียกว่า
โปรโตคอล ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าโปรโตคอล หมายถึง กฎเกณฑ์ ข้อตกลง
ภาษาสื่อสาร รูปแบบ วิธีการเชื่อมต่อของเครื่องคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย
(ระบบใดๆ ก็ตาม)ให้สามารถติดต่อสื่อสารมีการใช้งานร่วมกันได้หลากหลาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น